TH : EN
Header

แผนพัฒนากลยุทธ์

กลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนสู่อนาคตด้วย PRIME

   คณะวิทยาการจัดการวางแนวทางการบริหารจัดการคณะฯ ในการที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ เป้าหมาย (6Us) และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    1. สร้างสรรค์ศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
    2. พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับสากล
    3. เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการดำเนินงานตามภารกิจ
    4. ใช้หลักธรรมมาภิบาล
    5. เพิ่มศักยภาพในการบริหารและจัดหาทรัพยากร
    6. ได้นั้น โดยกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objectives) 5 ประการ (PRIME) ดังนี้

        1. P: Programs of Academic Excellence หลักสูตรแห่งความเป็นเลิศทางวิชาการ (ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 2)
        2. การพัฒนาหลักสูตรใหม่ของคณะต้องคำนึงถึงความต้องของผู้มีส่วนได้เสียและผลประโยชน์ ของประเทศในอนาคต โดยหลักสูตรใหม่ต้องสร้างคุณค่าให้กับคณะ
        3. R: Research-oriented มุ่งเน้นการไปสู่คณะวิจัยในด้านบริหารธุรกิจ (ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 1)
        4. I: Integration to Society การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจและผลงานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในการให้บริการวิชาการแก่บุคคลภายนอกและการผลิตบัณฑิต (ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ 1 ) โดยผ่านศูนย์บูรณาการทางธุรกิจ
        5. M: Management Model การเป็นตัวแบบทางการจัดการที่ดี (ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 3, 4,5)
        6. E: Embedded การนำอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ 4)
      “5 เสาหลักในการพัฒนาคณะวิทยาการจัดการเป็น Great Faculty”
      เสาที่ 1 ธรรมาภิบาลและการบริหารที่ดี (Good Governance and Management)
        1. โครงสร้างคณะฯ ต้องคล่องตัว คุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร บริหารทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
        2. บุคคลากร จัดสรรและพัฒนาบุลากร โดยให้ความสำคัญทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ทางสายวิชาการส่งเสริมให้ทุนนิสิตที่มีศักยภาพเรียนต่อปริญญาโท-เอกมากขึ้น ผลักดันให้มีการขอตำแหน่งทางวิชาการมากขึ้นและเร็วขึ้นโดยเพิ่มทุนการพัฒนางานวิจัยผ่านการสนับสนุนโดยระบบ mentor และ peer ทางสายสนับสนุนผลักดันให้เพิ่มชำนาญการ เพื่อยกระดับการบริการให้กับนิสิตและอาจารย์ เพิ่มโครงการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาตนเอง ให้มีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น
        3. การเงิน แสวงหารายได้และแหล่งรายได้อย่างยั่งยืน เพิ่มรายได้จากการบริการวิชาการผ่านหลักสูตรอบรมระยะสั้นและหลักสูตร non-degree ในรูปแบบทั้ง onsite/online เพิ่มรายได้จากงานวิจัยที่ตอบโจทย์ภาคธุรกิจและชุมชน เพิ่มรายได้จากสินทรัพย์ของคณะฯโดยการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
        4. เทคโนโลยี พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในทุกระดับ (ผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน นิสิต และศิษย์เก่า) ให้มีข้อมูลที่ถูกต้อง ทันเวลา และนำไปใช้ประโยชน์ได้
      เสาที่ 2 สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการสู่ระดับสากล (Global Academic Programs)
        1. ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรที่ทันสมัยและโดดเด่นเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเช่น Entrepreneurship and Enterprise Management เพิ่มเนื้อหาที่ทันสมัยเช่น Financial Technology, Wealth Management, Digital Literacy เป็นต้น
        2. เพิ่มหลักสูตรประกาศนียบัตรแบบ continuing professional development (จากระดับนักเรียนนิสิต สู่บัณฑิต ศิษย์เก่า ผู้สนใจ ไปถึง ผู้บริหาร ผู้นำธุรกิจ) ที่มาจากการบูรณาการหลากหลายสาขาวิชาในคณะฯ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของประเทศ เช่นหลักสูตรผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล
        3. เสริมสร้างความเป็นนานาชาติ โดยมีหลักสูตรภาคภาษาอังกฤษทุกสาขาวิชาของคณะฯ เพิ่มหลักสูตรนานาชาติ สร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศมากขึ้น เพิ่ม MOU ในการแลกเปลี่ยนนิสิตและอาจารย์ต่างชาติ เพิ่มทุนการศึกษาให้นิสิตต่างชาติ เพื่อเพิ่ม Inbound-Outbound เพิ่ม Ranking และยกระดับคณะฯ ให้สากลมากขึ้น
      เสาที่ 3 พัฒนากลุ่มวิจัยระหว่างสาขาวิชา (Innovative Research Clusters)
        1. ยกระดับผลงานทางวิชาการ
        2. เพิ่มรายได้จากงานวิจัย
        3. ยกระดับวารสาร พัฒนาการจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
        4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการทำงานร่วมกันระหว่างสาขาวิขา
      เสาที่ 4 สิ่งแวดล้อมพร้อมทำงาน (Attractive Environment)
        1. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้เหมาะสมและปลอดภัยกับการเรียนและการทำงาน
        2. เพิ่มพื้นที่สีเขียวในคณะฯ รวมถึงการดำเนินการต่างๆที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
      เสาที่ 5 ครอบครัว วจก. สุขสันต์ (Happy MS Family)
      • สร้างความสุขให้เกิดขึ้นในการเรียนและในการทำงาน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี